วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หลักการและทฤษฎีในการสร้าง CAI


            ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์ไดค์เป็นฤษฎีการเรียนรูจากกฏของความพร้อมReadiness effectแลการฝึกฝนซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
            1.กฏแห่งความพร้อมLearning Theory
            2.กฏแห่งผลLaw off effect
            3.กฏแห่งการฝึกLaw of exercise
 ทฤษฎีการเสริมแรง Reinforcement Theory ของสกินเนอร์
            1.เสริมแรงทุกครั้งContinouse Reinforcement
            2.เสริมแรงเป็นครั้ง Partial Reinforcement
 ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
            ทฤษฎีหลักที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์และส่งผลกระทบต่อแนวคิดในการออกแบบโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ได้แก่ (ถนอมพร เลาหจรัส. 2541: 52.
            1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism)
            2. ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism)
            3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema  Theory)
            4. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive  Flexibility)

1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism)
       เป็นแนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner) เชื่อว่าจิตวิทยาเป็นเสมือนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของพฤติกรรมมนุษย์ (Scientific  Study  of  Human  Behavior) และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก  มีแนวความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimuli  and  Response)  เชื่อว่าการตอบสนองกับสิ่งเร้าของมนุษย์จะเกิดควบคู่กันในช่วงเวลาที่เหมาะสม  การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบอาการกระทำ (Operant  Conditioning)  ซึ่งมีการเสริมแรง (Reinforcement) เป็นตัวการ  ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมนี้ไม่พูดถึงความนึกคิดภายในของมนุษย์  ความทรงจำ  ภาพ  ความรู้สึก  โดยถือว่าคำเหล่านี้เป็นคำต้องห้าม (Taboo)ทฤษฎีนี้ส่งผลต่อการเรียนการสอนที่สำคัญ  ในลักษณะที่การเรียนเป็นชุดของพฤติกรรมซึ่งจะต้องเกิดขึ้นตามลำดับที่แน่ชัด  ผู้เรียนจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ต้องมีการเรียนตามขั้นตอนเป็นวัตถุประสงค์ ๆ ไปผลที่ได้จากการเรียนขั้นแรกนี้จะเป็นพื้นฐานในการเรียนของขั้นต่อ ๆ ไปในที่สุด
       คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบตามแนวความคิดของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม  มีโครงสร้างของบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรง (Linear) โดยจะได้รับการเสนอเนื้อหาในลำดับที่เหมือนกันและตายตัว ซึ่ง ได้พิจารณาแล้วว่าเป็นลำดับการสอนที่ดี  และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีการตั้งคำถามผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ  หากตอบถูกก็จะได้รับการตอบสนองในรูปผลป้อนกลับทางบวกหรือรางวัล (Reward) หากผู้เรียนตอบผิดจะได้รับการตอบสนองในรูปของผลป้อนกลับในทางลบและคำอธิบายหรือการลงโทษ (Punishment) ซึ่งผลป้อนกลับนี้ถือเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบตามแนวคิดของทฤษฎีพฤติกรรมนิยมจะบังคับให้ผู้เรียนผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามจุดประสงค์เสียก่อนจึงสามารถผ่านไปศึกษาเนื้อหาของวัตถุประสงค์ต่อไปได้  หากไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้  ผู้เรียนต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาเดิมอีกครั้งจนกว่าจะผ่านการประเมิน

2.ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism)
       เกิดจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ที่ไม่เห็นด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner) บิดาของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม  ในการมองพฤติกรรมมนุษย์ไว้ว่าเป็นเสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ชอมสกี้ (Chomsky) เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์เป็นเรื่องของภายในจิตใจ  มนุษย์มีความนึกคิด  มีอารมณ์จิตใจและความรู้สึกภายในแตกต่างกันออกไป  การออกแบบการเรียนการสอนก็ควรที่จะคำนึงถึงความแตกต่างภายในของมนุษย์ด้วย  แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องความทรงจำ  ได้แก่  ความแตกต่างระหว่างความทรงจำระยะสั้น  ระยะยาว  และความคงทนของการจำ (Short  term  memory, Long  term  memory, and Retention) แนวคิดเกี่ยวกับการแบ่งประเภทความรู้ออกเป็น  3 ลักษณะ  คือ
            2.1 ความรู้ในลักษณะเป็นขั้นตอน (Procedural  Knowledge) ซึ่งได้แก่  ความรู้ที่อธิบาย
ว่าทำอย่างไร  และเป็นองค์ความรู้ที่ต้องการลำดับการเรียนรู้ที่ชัดเจน
            2.2  ความรู้ในลักษณะเป็นการอธิบาย (Declarative  Knowledge) ซึ่งได้แก่  ความรู้ที่
อธิบายว่าคืออะไร
            2.3 ความรู้ในลักษณะเป็นเงื่อนไข (Condition  Knowledge) ซึ่งได้แก่  ความรู้ที่อธิบาย
เกี่ยวกับว่าเมื่อไรและทำไม
         ซึ่งความรู้  2  ประเภทหลังนี้  ไม่ต้องการลำดับการเรียนรู้ที่ตายตัว  ทฤษฎีปัญญานิยมทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบในลักษณะสาขา (Branching) ของคราวเดอร์ (Crowder) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับบทเรียนที่ออกตามแนวความคิดของพฤติกรรมนิยมแล้ว  จะทำให้ผู้เรียนมีอิสระมากขึ้นในการควบคุมการเรียนของตัวเอง  การเลือกลำดับของการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนที่เหมาะสมกับตน  มีโครงสร้างของบทเรียนในลักษณะสาขา  โดยผู้เรียนทุกคนจะได้รับการเสนอเนื้อหาในลำดับที่ไม่เหมือนกัน  ขึ้นอยู่กับความสามารถ  ความถนัด  และความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ

3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema  Theory)
       ภายใต้ทฤษฎีปัญญานิยม  ได้เกิดทฤษฎีโครงสร้างความรู้  ซึ่งเป็นแนวคิดที่เชื่อว่าโครงสร้างภายในความรู้ที่มนุษย์มีอยู่  มีลักษณะเป็นโหนดหรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่  การที่มนุษย์เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ นั้น  มนุษย์จะนำความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้รับนั้นไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้ที่มีอยู่เดิม (Pre-existing  Knowledge) รูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (Rumelhart  and  Ortony, 1977.    ให้นิยามความหมายของโครงสร้างความรู้ว่า  เป็นโครงสร้างข้อมูลภายในสมองของมนุษย์ซึ่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับวัตถุ  ลำดับเหตุการณ์  รายการกิจกรรมต่าง ๆ เอาไว้  หน้าที่โครงสร้างของความรู้นี้คือ  การนำไปสู่การรับรู้ข้อมูล (Perception) การรับรู้ข้อมูลนั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากขาดโครงสร้างความรู้ (Schema  Theory) เพราะการรับรู้ข้อมูลนั้นเป็นการสร้างความหมายโดยการถ่ายโอนความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม  ในกรอบความรู้เดิมที่มีอยู่และจากการกระตุ้นโดยเหตุการณ์หนึ่ง ๆ เกิดการเชื่อมโยงความรู้นั้น ๆ เข้าด้วยกัน  การรับรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้เนื่องจากไม่มีการเรียนรู้ใดเกิดขึ้นได้  โดยปราศจากการรับรู้โครงสร้างความรู้ยังช่วยในการระลึก (recall) ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เราเคยเรียนรู้มา (Anderson,  1984.

4.  ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility)
       เชื่อว่าความรู้แต่ละองค์ความรู้มีโครงสร้างที่แน่ชัดและสลับซับซ้อนมากน้อยแตกต่างกันไป  องค์ความรู้บางประเภทสาขาวิชา  เช่น  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์กายภาพ  ถือว่าเป็นองค์ความรู้ประเภทที่มีโครงสร้างตายตัวไม่สลับซับซ้อน (Well-Structured  Knowledge  Domains) เพราะตรรกะและความเป็นเหตุเป็นผลที่แน่นอนของธรรมชาติขององค์ความรู้  องค์ความรู้บางประเภทสาขาวิชา  เช่น  จิตวิทยาถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่ไม่มีโครงสร้างตายตัวสลับซับซ้อน (ill-structured  Knowledge  Domains) เพราะไม่เป็นเหตุเป็นผลของธรรมชาติขององค์ความรู้(West  and  Others, 1991.   การแบ่งลักษณะโครงสร้างขององค์ความรู้ตามประเภทสาขาวิชา  ไม่สามารถหมายรวมไปทั้งองค์ความรู้ในวิชาหนึ่ง ๆ ทั้งหมด  บางส่วนขององค์ความรู้บางประเภทสาขาวิชาที่มีโครงสร้างตายตัว  ก็สามารถที่จะเป็นองค์ความรู้ประเภทที่ไม่มีโครงสร้างตายตัวได้เช่นกัน  แนวคิดในเรื่องยืดหยุ่นทางปัญญานี้  ส่งผลให้เกิดความคิดในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อตอบสนองต่อโครงสร้างองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน  ซึ่งได้แก่แนวความคิดในเรื่องการออกแบบบทเรียนแบบสื่อหลายมิตินั่นเอง
              ทฤษฎีโครงสร้างความรู้และความยืดหยุ่นทางปัญญา  ส่งผลต่อการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบันในลักษณะใกล้เคียงกัน  กล่าวคือ  ทฤษฎีทั้งสองต่างสนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดระเบียบโครงสร้างการนำเสนอเนื้อหาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ในลักษณะสื่อหลายมิติ  การจัดระเบียบโครงสร้างการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติ  จะตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์
ในความพยายามที่จะเชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับความรู้ที่มีอยู่เดิมได้เป็นอย่างดี  ตรงกับแนวคิดของทฤษฎีโครงสร้างความรู้  การนำเสนอเนื้อหาบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติยังสามารถที่จะตอบสนองความแตกต่างของโครงสร้างขององค์ความรู้ที่ไม่ชัดเจน  หรือมีความสลับซับซ้อนซึ่งเป็นแนวคิดทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญาได้อีกด้วย  การจัดระเบียบโครงสร้างการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนลักษณะ
สื่อหลายมิติ  จะให้ผู้เรียนทุกคนมีอิสระในการควบคุมการเรียนของตน (Learner  control)ตามความสามารถ  ความสนใจ  ความถนัด  และพื้นฐานความรู้ของตน  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบตามแนวคิดทฤษฎีทั้งสองนี้  ก็มีโครงสร้างของบทเรียนแบบสื่อหลายมิติในลักษณะโยงใย  โดยผู้เรียนทุกคนได้รับการเสนอเนื้อหาในลำดับที่ไม่เหมือนกันและไม่ตายตัว  โดยเนื้อหาที่จะได้รับการนำเสนอจะขึ้นอยู่กับ  ความสามารถ  ความถนัด  และความสนใจของผู้เรียน  ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการออกแบบตามแนวคิดของทฤษฎีปัญญานิยมก็คือ  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบตามแนวคิดของทฤษฎีทั้งสองนี้จะให้อิสระแก่ผู้เรียน  ในการควบคุมการเรียนของตนมากว่า  เนื่องจากการออกแบบที่สนับสนุนโครงสร้างความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่ลึกซึ้ง  และสลับซับซ้อน (Criss-Crossing  Relationship)
 อ้างอิงจาก http://www.bus.rmutt.ac.th/~boons/cai/intro_tocai.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น