ถ้าท่านจะจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction) สักเรื่อง
ท่านควรมีขั้นตอนในการจัดทำดังนี้
1. กำหนดหัวเรื่อง
ท่านอาจเริ่มจากการวิเคราะห์หลักสูตร หรือ
วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี หรือหน่วยการเรียนรู้ เขียนผลการวิเคราะห์ออกมาให้อยู่ในลักษณะของผังมโนทัศน์(Conceptual Framework) เช่น
คือหน่วยย่อยที่ 1 หมายเลข • คือหน่วยย่อยที่ 2 … ผู้ออกแบบการสอนควรพิจารณาเลือกหน่วยย่อยที่เป็นปัญหา หรือเลือกหน่วยย่อยที่ใช้การเรียนด้วยตนเองได้ มาจัดทำเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหากหมายเลข
2. กำหนดเป้าประสงค์ของการสอน เมื่อกำหนดหัวเรื่องได้แล้ว ท่านต้องพิจารณากำหนดว่าเป้าหมายปลายทางของการสอนในหน่วยย่อยนี้ ท่านต้องการให้เกิดพฤติกรรมใดกับผู้เรียน เช่น มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆของพืช เป้าหมายนี้อาจเรียกอีกอย่างว่า จุดประสงค์ปลายทาง
3. การวิเคราห์ภาระกิจ เมื่อกำหนดเป้าประสงค์ของการสอนได้แล้ว ผู้ออกแบบการสอนจะต้องวิเคราะห์ภาระกิจของผู้เรียนว่า หากจะบรรลุเป้าประสงค์ของการสอนในครั้งนี้ ผู้เรียนจะต้องทำอะไรบ้าง นั่นก็คือ ครูจะต้องเตรียม กิจกรรมการเรียนรู้ อย่างไรให้กับผู้เรียน และมีลำดับขั้นตอนของ เนื้อหาสาระ ที่เกี่ยวข้องอย่างไร จะต้องแบ่งเนื้อหาเป็นตอนย่อยๆหรือไม่ กี่ตอน ผู้เรียนต้องเรียนรู้เรื่องใดบ้าง และจะต้องเรียนเรื่องใดก่อน-หลัง
4. กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อวิเคราะห์ภาระกิจได้ครบถ้วนแล้ว ท่านจะต้องกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของแต่ละภาระกิจ โดยจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นบันไดไปสู่เป้าประสงค์ของการสอน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมนี้อาจเรียกอีกอย่างว่า จุดประสงค์นำทาง
การดำเนินการในขั้นตอนที่ 3 และ 4 นั้น ควรดำเนินการพร้อมกันและให้ได้สิ่งต่อไปนี้
5. จัดทำแบบทดสอบ เพื่อให้ทราบว่าเมื่อผู้เรียน ได้เรียนรู้ตามกิจกรรมที่ท่านเตรียมไว้แล้วมีผลการเรียนรู้อย่างไร ท่านจะต้องจัดทำแบบทดสอบเพื่อประเมิน โดยแบ่งแบบทดสอบนี้ออกเป็น 2 ระดับ คือ แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งประเมินจุดประสงค์ปลายทาง และแบบทดสอบประจำหน่วยย่อย ประเมินจุดประสงค์นำทาง การจัดทำแบบทดสอบนี้ ควรได้รับการประเมินหาประสิทธิภาพตามขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่ดี เชื่อถือได้
6. การจัดทำแผนภูมิการเรียนรู้ มาถึงตอนนี้ ผู้ออกแบบการสอนจะต้องจัดสิ่งที่ดำเนินการมาทั้งหมดเข้าเป็นชุดโดยเขียนเป็นแผนภูมิบอกลำดับของการจัดการเรียนรู้
7. จัดทำรายละเอียดกรอบการนำเสนอ จัดทำเพื่อบอกว่าในแต่ละกรอบการเรียนรู้ (Frame) มีข้อความอะไร ภาพอะไร มีเสียงประกอบเสียงบรรยายหรือไม่ มีการตอบสนองระหว่างบทเรียนกับผู้เรียนอย่างไร อาจเรียกว่าการเขียน Script
8. การจัดลำดับการนำเสนอ (Story board) เป็นขั้นตอนที่นำเอา Script มาจัดลำดับการนำเสนอ ตามกระบวนการ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ที่ออกแบบไว้ โดยอาจขยายรายละเอียดของเส้นทางการจัดการเรียนรู้ตาม แผนภูมิการเรียนรู้ ในข้อ 6
9. เลือกโปรแกรมนำเสนอบทเรียน ออกแบบการสอนอาจเลือกโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งมีหลายรูปแบบ ขึ้นกับว่าเราถนัดกับโปรแกรมใด และต้องพิจารณาความสามารถของโปรแกรม ว่าตอบสนองความต้องการของบทเรียนเราหรือไม่ เช่นเสียง สี ภาพ การบันทึกข้อมูลการเรียนของผู้เรียน
10. การจัดเตรียมทรัพยากร ได้แก่การจัดเตรียมรูปภาพ ไฟล์ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์เสียง แบบหน้าจอ ฯลฯ ไว้ให้พร้อมที่จะใช้งานอาจลงไว้ในเครื่อง หรือซีดีรอม พร้อมที่จะเรียกมาใช้ประกอบการจัดทำบทเรียน ทั้งนี้ข้อมูลว่าเราต้องเตรียมอะไรบ้าง เราจะทราบแล้วในขั้นตอนการจัดทำ Script
11. ลงมือจัดทำบทเรียน ดำเนินการตามลักษณะของโปแกรมที่เลือกใช้ด้วยความประณีต ตามกรอบเส้นทางการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ใน Story board และ แผนภูมิการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ตั้งแต่ต้น
12. การตรวจสอบบทเรียน ก่อนที่จะนำบทเรียนไปใช้ ควรมีการตรวจสอบบทเรียนโดยแบ่งเป็นการตรวจสอบโดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ตรวจสอบความถูกต้องตามโครงสร้างของเนื้อหา โดยอาจต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ 3 – 5 คน นอกจากนั้นควรให้ผู้เชี่ยวชายด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา หรือครูผู้สอนที่เชียวชาญการจัดการเรียนการสอน หรือบุคคลอื่นๆ ที่สามารถตรวจสอบเกี่ยวกับระบบของการจัดการเรียนการสอน และเทคนิคการนำเสนอโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยอาจต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ 3 – 5 คน เช่นเดียวกัน เมื่อได้ผลการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและ นำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงบทเรียนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
13. การทดลองหาประสิทธิภาพ
13.1 ทดสอบรายบุคคล โดยให้นักเรียน 1 –3 คนศึกษาด้วยบทเรียนที่เราจัดทำ สอบถามความคิดเห็น และสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะเรียนบทเรียน นำผลที่ได้มาปรับปรุงบทเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
13.2 ทดสอบกลุ่มเล็ก โดยให้นักเรียน ประมาณ 10 คนศึกษาด้วยบทเรียนที่เราจัดทำ สอบถามความคิดเห็น และสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะเรียนบทเรียน นำผลที่ได้มาปรับปรุงบทเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
13.3 ทดลองหาประสิทธิภาพ ทำการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามสูตร E1/ E2 และหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Effectiveness) จากกลุ่มตัวอย่างไม่น้อยกว่า 30 คน หากมีผลการประเมินเป็นไปตามเกณฑ์ก็นำไปใช้ หรือปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ที่สุดก่อนนำไปใช้จริง
14. จัดทำคู่มือการใช้ (User Manual/Package Instruction) ควรประกอบด้วยบทนำ อุปกรณ์ที่จำเป็น โปรแกรมพื้นฐานที่จำเป็น สมรรถนะพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ การเข้าบทเรียน จุดประสงค์ของบทเรียน ข้อมูลเพิ่มเติม แหล่งค้นคว้าเพิ่ม ข้อควรระวังในการใช้ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้พัฒนาบทเรียน วันเดือนปีที่เผยแพร่
วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี หรือหน่วยการเรียนรู้ เขียนผลการวิเคราะห์ออกมาให้อยู่ในลักษณะของผังมโนทัศน์(Conceptual Framework) เช่น
คือหน่วยย่อยที่ 1 หมายเลข • คือหน่วยย่อยที่ 2 … ผู้ออกแบบการสอนควรพิจารณาเลือกหน่วยย่อยที่เป็นปัญหา หรือเลือกหน่วยย่อยที่ใช้การเรียนด้วยตนเองได้ มาจัดทำเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหากหมายเลข
2. กำหนดเป้าประสงค์ของการสอน เมื่อกำหนดหัวเรื่องได้แล้ว ท่านต้องพิจารณากำหนดว่าเป้าหมายปลายทางของการสอนในหน่วยย่อยนี้ ท่านต้องการให้เกิดพฤติกรรมใดกับผู้เรียน เช่น มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆของพืช เป้าหมายนี้อาจเรียกอีกอย่างว่า จุดประสงค์ปลายทาง
3. การวิเคราห์ภาระกิจ เมื่อกำหนดเป้าประสงค์ของการสอนได้แล้ว ผู้ออกแบบการสอนจะต้องวิเคราะห์ภาระกิจของผู้เรียนว่า หากจะบรรลุเป้าประสงค์ของการสอนในครั้งนี้ ผู้เรียนจะต้องทำอะไรบ้าง นั่นก็คือ ครูจะต้องเตรียม กิจกรรมการเรียนรู้ อย่างไรให้กับผู้เรียน และมีลำดับขั้นตอนของ เนื้อหาสาระ ที่เกี่ยวข้องอย่างไร จะต้องแบ่งเนื้อหาเป็นตอนย่อยๆหรือไม่ กี่ตอน ผู้เรียนต้องเรียนรู้เรื่องใดบ้าง และจะต้องเรียนเรื่องใดก่อน-หลัง
4. กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อวิเคราะห์ภาระกิจได้ครบถ้วนแล้ว ท่านจะต้องกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของแต่ละภาระกิจ โดยจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นบันไดไปสู่เป้าประสงค์ของการสอน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมนี้อาจเรียกอีกอย่างว่า จุดประสงค์นำทาง
การดำเนินการในขั้นตอนที่ 3 และ 4 นั้น ควรดำเนินการพร้อมกันและให้ได้สิ่งต่อไปนี้
5. จัดทำแบบทดสอบ เพื่อให้ทราบว่าเมื่อผู้เรียน ได้เรียนรู้ตามกิจกรรมที่ท่านเตรียมไว้แล้วมีผลการเรียนรู้อย่างไร ท่านจะต้องจัดทำแบบทดสอบเพื่อประเมิน โดยแบ่งแบบทดสอบนี้ออกเป็น 2 ระดับ คือ แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งประเมินจุดประสงค์ปลายทาง และแบบทดสอบประจำหน่วยย่อย ประเมินจุดประสงค์นำทาง การจัดทำแบบทดสอบนี้ ควรได้รับการประเมินหาประสิทธิภาพตามขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่ดี เชื่อถือได้
6. การจัดทำแผนภูมิการเรียนรู้ มาถึงตอนนี้ ผู้ออกแบบการสอนจะต้องจัดสิ่งที่ดำเนินการมาทั้งหมดเข้าเป็นชุดโดยเขียนเป็นแผนภูมิบอกลำดับของการจัดการเรียนรู้
7. จัดทำรายละเอียดกรอบการนำเสนอ จัดทำเพื่อบอกว่าในแต่ละกรอบการเรียนรู้ (Frame) มีข้อความอะไร ภาพอะไร มีเสียงประกอบเสียงบรรยายหรือไม่ มีการตอบสนองระหว่างบทเรียนกับผู้เรียนอย่างไร อาจเรียกว่าการเขียน Script
8. การจัดลำดับการนำเสนอ (Story board) เป็นขั้นตอนที่นำเอา Script มาจัดลำดับการนำเสนอ ตามกระบวนการ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ที่ออกแบบไว้ โดยอาจขยายรายละเอียดของเส้นทางการจัดการเรียนรู้ตาม แผนภูมิการเรียนรู้ ในข้อ 6
9. เลือกโปรแกรมนำเสนอบทเรียน ออกแบบการสอนอาจเลือกโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งมีหลายรูปแบบ ขึ้นกับว่าเราถนัดกับโปรแกรมใด และต้องพิจารณาความสามารถของโปรแกรม ว่าตอบสนองความต้องการของบทเรียนเราหรือไม่ เช่นเสียง สี ภาพ การบันทึกข้อมูลการเรียนของผู้เรียน
10. การจัดเตรียมทรัพยากร ได้แก่การจัดเตรียมรูปภาพ ไฟล์ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์เสียง แบบหน้าจอ ฯลฯ ไว้ให้พร้อมที่จะใช้งานอาจลงไว้ในเครื่อง หรือซีดีรอม พร้อมที่จะเรียกมาใช้ประกอบการจัดทำบทเรียน ทั้งนี้ข้อมูลว่าเราต้องเตรียมอะไรบ้าง เราจะทราบแล้วในขั้นตอนการจัดทำ Script
11. ลงมือจัดทำบทเรียน ดำเนินการตามลักษณะของโปแกรมที่เลือกใช้ด้วยความประณีต ตามกรอบเส้นทางการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ใน Story board และ แผนภูมิการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ตั้งแต่ต้น
12. การตรวจสอบบทเรียน ก่อนที่จะนำบทเรียนไปใช้ ควรมีการตรวจสอบบทเรียนโดยแบ่งเป็นการตรวจสอบโดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ตรวจสอบความถูกต้องตามโครงสร้างของเนื้อหา โดยอาจต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ 3 – 5 คน นอกจากนั้นควรให้ผู้เชี่ยวชายด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา หรือครูผู้สอนที่เชียวชาญการจัดการเรียนการสอน หรือบุคคลอื่นๆ ที่สามารถตรวจสอบเกี่ยวกับระบบของการจัดการเรียนการสอน และเทคนิคการนำเสนอโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยอาจต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ 3 – 5 คน เช่นเดียวกัน เมื่อได้ผลการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและ นำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงบทเรียนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
13. การทดลองหาประสิทธิภาพ
13.1 ทดสอบรายบุคคล โดยให้นักเรียน 1 –3 คนศึกษาด้วยบทเรียนที่เราจัดทำ สอบถามความคิดเห็น และสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะเรียนบทเรียน นำผลที่ได้มาปรับปรุงบทเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
13.2 ทดสอบกลุ่มเล็ก โดยให้นักเรียน ประมาณ 10 คนศึกษาด้วยบทเรียนที่เราจัดทำ สอบถามความคิดเห็น และสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะเรียนบทเรียน นำผลที่ได้มาปรับปรุงบทเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
13.3 ทดลองหาประสิทธิภาพ ทำการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามสูตร E1/ E2 และหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Effectiveness) จากกลุ่มตัวอย่างไม่น้อยกว่า 30 คน หากมีผลการประเมินเป็นไปตามเกณฑ์ก็นำไปใช้ หรือปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ที่สุดก่อนนำไปใช้จริง
14. จัดทำคู่มือการใช้ (User Manual/Package Instruction) ควรประกอบด้วยบทนำ อุปกรณ์ที่จำเป็น โปรแกรมพื้นฐานที่จำเป็น สมรรถนะพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ การเข้าบทเรียน จุดประสงค์ของบทเรียน ข้อมูลเพิ่มเติม แหล่งค้นคว้าเพิ่ม ข้อควรระวังในการใช้ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้พัฒนาบทเรียน วันเดือนปีที่เผยแพร่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น